เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะว่าภัตนั้นตนเองรู้สึกว่าเป็นของไม่น่ากินเสียแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ ความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ก็ถูกบุรุษบุคคล
ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติคายได้แล้ว อย่างนั้นเหมือนกัน
บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ มีแต่น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ’
[62] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไป
ในนิพพานโดยชอบ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่นิพพานโดยชอบนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่นิพพาน
โดยชอบนั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่
เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง
ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคน
ประเภทนั้น
เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้อง
ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ถูกบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ
ถอนขึ้นได้ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า
‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
มีแต่น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ’
[63] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดอย่าง
นี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อม
งอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษ
อันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เรื่องต่อไปนี้
มีเนื้อความดังนี้ ภิกษุนั้นพึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ1แห่งใจ
อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ พึงประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตา