เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

เปรียบเหมือนใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วแล้ว ไม่กลับเขียวสดขึ้นมาได้ แม้ฉันใด
ความเกี่ยวข้องในโลกามิสของบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติก็หลุดไป ฉันนั้น
เหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความ
เกี่ยวข้องกับโลกามิส มีแต่น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ’
[60] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไป
ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรอง
ธรรมอันสมควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึง
ความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องอาเนญชสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึง
ความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น
ก้อนศิลาแตกออกเป็น 2 เสี่ยงแล้ว ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิท
ไม่ได้ แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติของบุคคลผู้มีใจน้อมไปใน
อากิญจัญญายตนสมาบัติก็แตกไป ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้น บัณฑิตพึง
ทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับอาเนญชสมาบัติ มีแต่
น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ’
[61] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปใน
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นเท่านั้น
ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น คบแต่คน
ประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับ
เรื่องอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้
ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น เปรียบเหมือนคน
บริโภคโภชนะที่ถูกใจจนอิ่มหนำแล้วพึงหยุดเสีย
สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ คนนั้นพึงมีความปรารถนา
ในภัตนั้นบ้างไหม”
“ไม่ปรารถนา พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :65 }