เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยว
กับเรื่องอาเนญชสมาบัติ1 ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคน
ประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น เปรียบเหมือนคนที่จากบ้าน
หรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมไปไม่นาน พึง
ถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความสุขสบาย ทำมาหากินดี และมี
อาพาธน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความสุขสบาย ทำมาหากินดี
และมีอาพาธน้อยแก่เขา
สุนักขัตตะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ คนนั้นพึงสนใจฟังบุรุษนั้น
เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจรับรู้ คบบุรุษนั้น และถึงความปลื้มใจกับบุรุษนั้นใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้พึง
เป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่โลกามิสนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่โลกามิสนั้น คบแต่
คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเกี่ยวกับ
เรื่องอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคน
ประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น บุรุษบุคคลนั้น บัณฑิตพึง
ทราบว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากการเกี่ยวข้องกับอาเนญชสมาบัติ มีแต่น้อม
ใจไปในโลกามิส
[59] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจ
ไปในอาเนญชสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่อาเนญชสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่อาเนญช-
สมาบัตินั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมี
ใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้
ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

เปรียบเหมือนใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วแล้ว ไม่กลับเขียวสดขึ้นมาได้ แม้ฉันใด
ความเกี่ยวข้องในโลกามิสของบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติก็หลุดไป ฉันนั้น
เหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความ
เกี่ยวข้องกับโลกามิส มีแต่น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ’
[60] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไป
ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรอง
ธรรมอันสมควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึง
ความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องอาเนญชสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึง
ความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น
ก้อนศิลาแตกออกเป็น 2 เสี่ยงแล้ว ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิท
ไม่ได้ แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติของบุคคลผู้มีใจน้อมไปใน
อากิญจัญญายตนสมาบัติก็แตกไป ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้น บัณฑิตพึง
ทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับอาเนญชสมาบัติ มีแต่
น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ’
[61] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปใน
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นเท่านั้น
ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น คบแต่คน
ประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับ
เรื่องอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้
ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น เปรียบเหมือนคน
บริโภคโภชนะที่ถูกใจจนอิ่มหนำแล้วพึงหยุดเสีย
สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ คนนั้นพึงมีความปรารถนา
ในภัตนั้นบ้างไหม”
“ไม่ปรารถนา พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :65 }