เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

เจ้าสุนักขัตตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควร
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรม ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
[57] “สุนักขัตตะ กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ1 อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สุนักขัตตะ กามคุณมี 5 ประการนี้แล
[58] สุนักขัตตะ เป็นไปได้2ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจ
ไปในโลกามิส3 บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่
โลกามิสนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่โลกามิสนั้น คบแต่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยว
กับเรื่องอาเนญชสมาบัติ1 ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคน
ประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น เปรียบเหมือนคนที่จากบ้าน
หรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมไปไม่นาน พึง
ถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความสุขสบาย ทำมาหากินดี และมี
อาพาธน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความสุขสบาย ทำมาหากินดี
และมีอาพาธน้อยแก่เขา
สุนักขัตตะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ คนนั้นพึงสนใจฟังบุรุษนั้น
เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจรับรู้ คบบุรุษนั้น และถึงความปลื้มใจกับบุรุษนั้นใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้พึง
เป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่โลกามิสนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่โลกามิสนั้น คบแต่
คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเกี่ยวกับ
เรื่องอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคน
ประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น บุรุษบุคคลนั้น บัณฑิตพึง
ทราบว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากการเกี่ยวข้องกับอาเนญชสมาบัติ มีแต่น้อม
ใจไปในโลกามิส
[59] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจ
ไปในอาเนญชสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่อาเนญชสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่อาเนญช-
สมาบัตินั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมี
ใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้
ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น