เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 4. สามคาสูตร

ลำดับนั้น ภิกษุผู้ฉลาดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นฝ่ายเดียวกันกับภิกษุอีก
ฝ่ายหนึ่ง พึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีแล้วประกาศให้
สงฆ์ทราบว่า ‘ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กรรมอันไม่สมควรแก่
สมณะเป็นอันมาก ที่เราทั้งหลายในที่นี้ผู้เกิดการบาดหมาง เกิดการทะเลาะ ถึงการ
วิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดล่วงเกินแล้ว ถ้าความพรั่งพร้อมของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มี
โทษหยาบและอาบัติที่มีความพัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยติณวัตถารกวินัยในท่ามกลาง
สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน’
อานนท์ ติณวัตถารกวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรม
วินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยติณวัตถารกวินัยอย่างนี้

ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน

[54] อานนท์ สาราณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) 6 ประการนี้
ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน1
สาราณียธรรม 6 ประการ2 อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม3 ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 4. สามคามสูตร

2. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
3. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
4. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก1ลาภทั้งหลายที่ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต ก็บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้มีศีล ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก
ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
5. เป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้
สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอ
กันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณีย-
ธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ
ความเป็นอันเดียวกัน
6. เป็นผู้มีทิฏฐิโดยทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม2เพื่อความ
สิ้นทุกข์โดยเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน