เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 4. สามคาสูตร

อธิกรณ์และวิธีระงับอธิกรณ์

[46] อานนท์ อธิกรณ์1 4 ประการนี้
อธิกรณ์ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. วิวาทาธิกรณ์ 2. อนุวาทาธิกรณ์
3. อาปัตตาธิกรณ์ 4. กิจจาธิกรณ์

อธิกรณ์มี 4 ประการนี้แล
อธิกรณสมถะ 7 ประการนี้ คือ

1. สัมมุขาวินัย 2. สติวินัย
3. อมูฬหวินัย 4. ปฏิญญาตกรณะ
5. เยภุยยสิกา 6. ตัสสปาปิยสิกา
7. ติณวัตถารกะ

อันสงฆ์พึงให้ เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
[47] สัมมุขาวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ย่อมวิวาทกันว่า ‘นี่เป็นธรรมบ้าง นี่ไม่เป็น
ธรรมบ้าง นี่เป็นวินัยบ้าง นี่ไม่เป็นวินัยบ้าง’ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึง
พร้อมเพรียงกันประชุม ครั้นประชุมแล้ว พึงพิจารณาธรรมเนติ ครั้นพิจารณา
แล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องในธรรมเนตินั้นลงกันได้
อานนท์ สัมมุขาวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัยอย่างนี้
[48] เยภุยยสิกา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ จึงพากันไปยังอาวาส
ที่มีภิกษุมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 4. สามคาสูตร

ครั้นประชุมแล้ว พึงพิจารณาธรรมเนติ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับ
โดยอาการที่เรื่องในธรรมเนตินั้นลงกันได้
อานนท์ เยภุยยสิกา เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้
[49] สติวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้อง
อาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ‘ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น
อานนท์ สติวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้
[50] อมูฬหวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้อง
อาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุผู้เป็นโจทก์
นั้นพึงปลอบโยนเธอผู้กล่าวแก้ตัวว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงตรองดูให้ดี ถ้าท่านระลึก
ได้ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว
ข้าพเจ้าระลึกถึงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมากที่ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้
ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดพล่ามไปแล้วนั้นไม่ได้เลย ข้าพเจ้าลืมสติ ได้ทำกรรมนี้
แล้ว’ เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :56 }