เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 4. สามคาสูตร

[45] 2. เป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ตีเสมอ...
3. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่...
4. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา...
5. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ...
6. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
อานนท์ ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่
ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความ
ยำเกรงแม้ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้
ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่
และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ อานนท์ ภิกษุใดไม่มีความเคารพ ไม่
มีความยำเกรงในพระศาสดา... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ และ
ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์
ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อานนท์ ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็น
มูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย
พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลทั้งภายใน
หรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการ
วิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้
มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูล
เหตุแห่งการวิวาท ที่เป็นบาปนั้นแลย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการ
วิวาท ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้
อานนท์ มูลเหตุแห่งการวิวาทมี 6 ประการนี้แล1


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 4. สามคาสูตร

อธิกรณ์และวิธีระงับอธิกรณ์

[46] อานนท์ อธิกรณ์1 4 ประการนี้
อธิกรณ์ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. วิวาทาธิกรณ์ 2. อนุวาทาธิกรณ์
3. อาปัตตาธิกรณ์ 4. กิจจาธิกรณ์

อธิกรณ์มี 4 ประการนี้แล
อธิกรณสมถะ 7 ประการนี้ คือ

1. สัมมุขาวินัย 2. สติวินัย
3. อมูฬหวินัย 4. ปฏิญญาตกรณะ
5. เยภุยยสิกา 6. ตัสสปาปิยสิกา
7. ติณวัตถารกะ

อันสงฆ์พึงให้ เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
[47] สัมมุขาวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ย่อมวิวาทกันว่า ‘นี่เป็นธรรมบ้าง นี่ไม่เป็น
ธรรมบ้าง นี่เป็นวินัยบ้าง นี่ไม่เป็นวินัยบ้าง’ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึง
พร้อมเพรียงกันประชุม ครั้นประชุมแล้ว พึงพิจารณาธรรมเนติ ครั้นพิจารณา
แล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องในธรรมเนตินั้นลงกันได้
อานนท์ สัมมุขาวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัยอย่างนี้
[48] เยภุยยสิกา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ จึงพากันไปยังอาวาส
ที่มีภิกษุมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น