เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 4. สามคาสูตร

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย คือ
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7
อริยมรรคมีองค์ 8 ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วย
ความรู้ยิ่ง ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้ 2 รูปมีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้เลย
แต่มีบุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป
พึงก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ในเพราะอาชีวะอันเคร่งครัด1หรือปาติโมกข์อัน
เคร่งครัด2การวิวาทนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คน
หมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ การวิวาทที่เกิดเพราะอาชีวะอันเคร่งครัด หรือปาติโมกข์อัน
เคร่งครัดนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย ความจริง การวิวาทใดเมื่อเกิดในสงฆ์พึงเกิดเพราะ
มรรคหรือปฏิปทา3 การวิวาทนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 4. สามคาสูตร

สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

มูลเหตุแห่งการวิวาท

[44] อานนท์ มูลเหตุแห่งการวิวาท 6 ประการนี้
มูลเหตุแห่งการวิวาท 6 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้
ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระศาสดา ไม่
มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขา1ให้บริบูรณ์
อานนท์ ภิกษุใดไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา
... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์
ภิกษุนั้นย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่ใช่
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการ
วิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละ
มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอ
ทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็น
บาปนั้นไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น
ย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อ
ต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้