เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค]
10. อินทริยภาวนาสูตร

ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่1
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูล
อยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่2
[462] อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ภิกษุดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ
และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ถ้าเธอยังหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้
ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่
ปฏิกูลอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่ง
ที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูล
อยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
อานนท์ พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างนี้แล
[463] อานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัยไว้แล้ว
แสดงพระเสขะผู้กำลังปฏิบัติไว้แล้ว แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์ไว้แล้ว ด้วย
ประการอย่างนี้ กิจที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความ
อนุเคราะห์แล้วพึงทำแก่สาวกทั้งหลายได้ เราก็ได้ทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อินทริยภาวนาสูตรที่ 10 จบ
สฬายตนวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร 2. ฉันโนวาทสูตร
3. ปุณโณวาทสูตร 4. นันทโกวาทสูตร
5. จูฬราหุโลวาทสูตร 6. ฉฉักกสูตร
7. สฬายตนวิภังคสูตร 8. นครวินเทยยสูตร
9. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร 10. อินทริยภาวนาสูตร

อุปริปัณณาสก์ จบ