เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค]
9. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะหรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจบ้างไหม’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้
เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะหรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมนั้น
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เรา
ได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ใน
ที่นั้น เราไม่มีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจ’
สารีบุตร ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นแล
[440] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราละกามคุณ 5
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังละกามคุณ 5 ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละกามคุณ 5
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราละกามคุณ 5 ได้แล้ว‘ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[441] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราละนิวรณ์ 5 ได้
แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังละนิวรณ์ 5 ไม่ได้’ ภิกษุ
นั้นพึงพยายามเพื่อละนิวรณ์ 5
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราละนิวรณ์ 5 ได้แล้ว’ ภิกษุนั้นพึง
ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์
นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :500 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค]
9. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

[442] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรากำหนดรู้
อุปาทานขันธ์ 5 ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังกำหนดรู้
อุปาทานขันธ์ 5 ไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ 5
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานขันธ์ 5 ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[443] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสติปัฏฐาน 4
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสติปัฏฐาน 4
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสติปัฏฐาน 4 ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[444] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสัมมัปปธาน 4
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสัมมัปปธาน 4 ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสัมมัปปธาน 4
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสัมมัปปธาน 4 ได้แล้ว’ ภิกษุ
นั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[445] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญอิทธิบาท 4
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญอิทธิบาท 4 ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญอิทธิบาท 4
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญอิทธิบาท 4 ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :501 }