เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 8. นครวินเทยยสูตร

อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค‘1 พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่าง
แท้จริง”2
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกทูลสนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ประกาศชื่อและโคตร ในสำนักของพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดี
ชาวบ้านนครวินทะว่า

สมณพราหมณ์ผู้ไม่ควรสักการะ

[435] “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร อัน
ท่านทั้งหลายไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา’ ท่าน
ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ(ความกำหนัด) ยังไม่ปราศจาก
โทสะ(ความขัดเคือง) ยังไม่ปราศจากโมหะ(ความลุ่มหลง)ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
มีจิตยังไม่สงบในภายใน ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ
สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 8. นครวินเทยยสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายก็ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยังประพฤติไม่
สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความ
ประพฤติที่สม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ
ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายก็ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยัง
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายไม่เห็น
แม้ความประพฤติที่สม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะ
ฉะนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ
ไม่ควรบูชา’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :495 }