เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 7. สฬายตนวิภังคสูตร

[431] ทิฏฐิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้น1 ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริ
ของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของบุคคลผู้มี
ธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็น
สัมมาสติ สมาธิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม
วจีกรรม อาชีวะของเขาจัดว่าบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่
เมื่อบุคคลนั้นเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นี้อยู่อย่างนี้ สติปัฏฐาน 4 ก็ดี
สัมมัปปธาน 4 ก็ดี อิทธิบาท 4 ก็ดี อินทรีย์ 5 ก็ดี พละ 5 ก็ดี โพชฌงค์
7 ก็ดี ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ธรรม 2 นี้ คือ (1) สมถะ (2) วิปัสสนา ของเขาย่อมเคียงคู่กันไป
บุคคลนั้นกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งธรรมที่
ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
ควรจะตอบว่า ‘อุปาทานขันธ์ 5’ คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (1) อวิชชา (2) ภวตัณหา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง