เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 7. สฬายตนวิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ 6 ที่สำคัญแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[429] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักขุตามความเป็นจริง เมื่อไม่
รู้ไม่เห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักขุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อ
ไม่รู้ไม่เห็นจักขุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่
สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมยินดีนักใน
จักขุ ย่อมยินดีนักในรูป ย่อมยินดีนักในจักขุวิญญาณ ย่อมยินดีนักในจักขุสัมผัส
ย่อมยินดีนักในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นยินดี หมกมุ่น ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นคุณอยู่ อุปาทาน-
ขันธ์ 5 ย่อมถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป และตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่อันสหรคต
ด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ก็ย่อมเจริญขึ้น
ความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความ
เดือดร้อนที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความเร่าร้อนที่
เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น เขาจึงเสวยทุกข์ทางกายบ้าง
เสวยทุกข์ทางใจบ้าง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหาตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นกายตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัสตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :488 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 7. สฬายตนวิภังคสูตร

เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยตามความเป็นจริง ย่อมยินดีนักในมโน ย่อมยินดีนักใน
ธรรมารมณ์ ย่อมยินดีนักในมโนวิญญาณ ย่อมยินดีนักในมโนสัมผัส ย่อมยินดีนัก
ในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลนั้นยินดี หมกมุ่น ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นคุณอยู่
อุปาทานขันธ์ 5 ย่อมถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป และตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่อัน
สหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ก็ย่อมเจริญขึ้น
ความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความ
เดือดร้อนที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความเร่าร้อนที่
เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น เขาจึงเสวยทุกข์ทางกายบ้าง
เสวยทุกข์ทางใจบ้าง
[430] ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักขุตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักขุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นจักขุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่
สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยินดีใน
จักขุ ย่อมไม่ยินดีในรูป ย่อมไม่ยินดีในจักขุวิญญาณ ย่อมไม่ยินดีในจักขุสัมผัส
ย่อมไม่ยินดีในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น ไม่หลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นโทษอยู่
อุปาทานขันธ์ 5 ย่อมไม่ถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป เขาย่อมละตัณหาที่นำไปสู่ภพ
ใหม่อันสหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้
เขาย่อมละความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเดือดร้อน
ที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจได้
จึงเสวยสุขทางกายบ้าง เสวยสุขทางใจบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :489 }