เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 6. ฉฉักกสูตร

เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง1 บุคคลนั้น
ไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ชัดถึงความ
เกิดขึ้น ความเสื่อมไป คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น
ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาได้ บรรเทาปฏิฆานุสัย
เพราะทุกขเวทนาได้ ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาได้ ละอวิชชาแล้วทำ
วิชชา2 ให้เกิดขึ้นได้แล้ว จักเป็นผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์
เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
บุคคลนั้นไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง บุคคลนั้นไม่มี
ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ชัดถึงความเกิดขึ้น
ความเสื่อมไป คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความ
เป็นจริง บุคคลนั้นไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาได้ บรรเทา
ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาได้ ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาได้ ละ
อวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้แล้ว จักเป็นผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 7. สฬายตนวิภังคสูตร

[427] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ
ภิกษุประมาณ 60 รูป ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ดังนี้แล

ฉฉักกสูตรที่ 6 จบ

7. สฬายตนวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ 6 ประการ

[428] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :487 }