เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 6. ฉฉักกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลนั้นยังละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ไม่ได้ ยังบรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยเพราะ
อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ ยังละอวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดไม่ได้ จักเป็นผู้กระทำที่สุด
ทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์
เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดติด
บุคคลนั้นมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก
ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขามีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดถึงความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป
คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความเป็นจริง เขามี
อวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลนั้นยังละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ไม่ได้ ยังบรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยเพราะ
อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ ยังละอวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดไม่ได้ จักเป็นผู้กระทำที่สุด
ทุกข์ได้ในปัจจุบัน
[426] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
ที่สัตว์เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติด บุคคลนั้นไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :485 }