เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 6. ฉฉักกสูตร

พิจารณาเห็นฆานะว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นกายว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นธรรมารมณ์ว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นมโนวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนปฏิปทานี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงสักกายนิโรธ1(ความดับสักกายะ)
คือ บุคคลพิจารณาเห็น2จักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา3 เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 6. ฉฉักกสูตร

พิจารณาเห็นโสตะว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นฆานะว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นกายว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นธรรมารมณ์ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
[425] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
ที่สัตว์เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
บุคคลนั้นมีราคานุสัย(กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือราคะ) นอนเนื่องอยู่ อัน
ทุกขเวทนาถูกต้องแล้วย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความ
ลุ่มหลง1 เขามีปฏิฆานุสัย(กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ) นอนเนื่องอยู่
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดถึงความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป
คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความเป็นจริง เขามี
อวิชชานุสัย(กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา) นอนเนื่องอยู่