เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 6. ฉฉักกสูตร

ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘รูปเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง รูปย่อมปรากฏทั้ง
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘รูปเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุวิญญาณ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็น
อนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุสัมผัส
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุ
เป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง เวทนาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ตัณหาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
ตัณหาเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :480 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 6. ฉฉักกสูตร

[423] ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘โสตะเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ฆานะเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชิวหาเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘กายเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนย่อมปรากฏ
ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดและความเสื่อมไป
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็นอนัตตา ด้วยอาการ
อย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ธรรมารมณ์เป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ธรรมารมณ์
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ธรรมารมณ์เป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโน
เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนวิญญาณ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็น
อนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนสัมผัสเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนสัมผัส
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนสัมผัสเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็น
อนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :481 }