เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 3. กินติสูตร

อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความลำบากจักมีแก่เราด้วย
ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น
สละคืนได้ยาก และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็
เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลอื่นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่อง
ที่เราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้นั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า’
ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
ภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความลำบากจักมี
แก่เราด้วย ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ
ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละคืนได้ยาก และเราก็ไม่สามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้ว
ให้ดำรงอยู่ในกุศลได้’ เธอทั้งหลายก็อย่าพึงดูหมิ่นความวางเฉยในบุคคลเช่นนี้
[40] ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่
วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ
ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันได้ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกัน
ในที่นั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราสามัคคีกัน ร่วม
ใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน
ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อ
ทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่
พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่
ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’ ก็ภิกษุอื่นพึงถามเธอว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่
ละธรรม1นี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึง
ชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 3. กินติสูตร

ต่อจากนั้น เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ
ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึง
ชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลาย
สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความ
เห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’ ก็
ภิกษุอื่นจะพึงถามเธอว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพาน
ให้แจ้งได้หรือ’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
ภิกษุเหล่านี้ของเราทั้งหลายอันท่านให้ออกจากอกุศล ให้ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้กระผม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม1แก่
กระผม กระผมฟังธรรมของพระองค์แล้วได้บอกแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟัง
ธรรมนั้นแล้ว ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว’ ภิกษุเมื่อชี้แจงอย่างนี้
ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มบุคคลอื่น และชื่อว่าชี้แจงอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำ
กล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

กินติสูตรที่ 3 จบ