เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 6. ฉฉักกสูตร

2. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม 3 เป็นผัสสะ
3. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม 3 เป็นผัสสะ
4. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม 3 เป็นผัสสะ
5. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม 3 เป็นผัสสะ
6. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม 3 เป็นผัสสะ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ 6’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม 6 หมวดที่ 4 (4)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดเวทนา 6’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
1. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด1
2. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
3. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
4. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
5. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
6. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงเกิด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 6. ฉฉักกสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดเวทนา 6’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม 6 หมวดที่ 5 (5)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดตัณหา 6’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
1. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา1จึงเกิด
2. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
3. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
4. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
5. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
6. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดตัณหา 6’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม 6 หมวดที่ 6 (6)
[422] ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘จักขุเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้