เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 5. จูฬราหุโลวาทสูตร

5. จูฬราหุโลวาทสูตร1
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก

[416] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่
ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า “ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ2ของราหุล
แก่กล้าแล้ว ทางที่ดี เราพึงแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว เสด็จกลับ
จากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระราหุลมา
ตรัสว่า “ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะ(ผ้าสำหรับปูนั่งของสมณะ) เราจักเข้าไปยัง
ป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวัน”
ท่านพระราหุลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มี
พระภาคไปเบื้องพระปฤษฎางค์
สมัยนั้น เทวดาหลายพันองค์ก็ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยคิดว่า “วันนี้
พระผู้มีพระภาค จักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 5. จูฬราหุโลวาทสูตร

ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปู
ลาดไว้แล้วที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราหุลดังนี้ว่า
[417] “ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :471 }