เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 4. นันทโกวาทสูตร

แล่เนื้อที่คมตัด ชำแหละ เฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้น
นั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนัง
ผืนนี้เท่านั้น’ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น แม่โคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้นนั่นเอง”
“น้องหญิงทั้งหลาย อาตมภาพทำอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดเจนขึ้น
เนื้อความในอุปมานั้นดังต่อไปนี้
คำว่า ส่วนเนื้อข้างใน นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน 6
คำว่า ส่วนหนังข้างนอก นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายนอก 6
คำว่า เนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็ก นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ
คำว่า มีดแล่เนื้อที่คม นั้น เป็นชื่อของอริยปัญญาที่ตัด ชำแหละ เฉือน
กิเลสในภายใน สังโยชน์ในภายใน และเครื่องผูกในภายใน

โพชฌงค์ 7 ประการ

[414] น้องหญิงทั้งหลาย เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
2. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
3. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
4. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
5. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
6. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :468 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 4. นันทโกวาทสูตร

7. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
[415] ครั้งนั้น ท่านพระนันทกะโอวาทภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้ว
จึงส่งไปด้วยคำว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว”
ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระนันทกะ แล้ว
ลุกขึ้นจากอาสนะ กราบท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด สมควร
แก่เวลาแล้ว”
ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ
แล้วจากไป
เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นจากไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ 15 ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากไม่
มีความเคลือบแคลงหรือความสงสัยเลยว่า ‘ดวงจันทร์ไม่เต็มดวงหรือเต็มดวง
หนอ’ แต่ที่แท้ ดวงจันทร์ก็เต็มดวงแล้ว ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีต่อธรรมเทศนาของพระนันทกะและมีความดำริบริบูรณ์แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณี 500 รูปนั้น รูปที่ได้คุณธรรมชั้นต่ำที่สุดเป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นันทโกวาทสูตรที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :469 }