เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 4. นันทโกวาทสูตร

“ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะภายนอก 6 ของ
เรานี้ ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายนอก 6 แล้ว ย่อมเสวยเวทนาใด เป็น
สุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้นเที่ยง ยั่งยืน
เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบ
หรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจาก
อายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ
ดับ เวทนาที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงดับ”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[413] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ
ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วน
หนังไว้ข้างนอก ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็น
เล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่เนื้อที่คมตัด ชำแหละ เฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนัง
ไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้นนั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้
เราประกอบไว้ด้วยหนังผืนนี้เท่านั้น’ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคนั้นเมื่อกล่าว
ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญโน้น ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วน
เนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :467 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 4. นันทโกวาทสูตร

แล่เนื้อที่คมตัด ชำแหละ เฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้น
นั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนัง
ผืนนี้เท่านั้น’ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น แม่โคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้นนั่นเอง”
“น้องหญิงทั้งหลาย อาตมภาพทำอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดเจนขึ้น
เนื้อความในอุปมานั้นดังต่อไปนี้
คำว่า ส่วนเนื้อข้างใน นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน 6
คำว่า ส่วนหนังข้างนอก นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายนอก 6
คำว่า เนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็ก นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ
คำว่า มีดแล่เนื้อที่คม นั้น เป็นชื่อของอริยปัญญาที่ตัด ชำแหละ เฉือน
กิเลสในภายใน สังโยชน์ในภายใน และเครื่องผูกในภายใน

โพชฌงค์ 7 ประการ

[414] น้องหญิงทั้งหลาย เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
2. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
3. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
4. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
5. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
6. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :468 }