เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 3. กินติสูตร

‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย
จงทราบความขัดแย้งกันและความลงกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถ
ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด พึงจำข้อที่
ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัย
ด้วยอาการอย่างนี้
[37] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้ลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจ
บรรดาภิกษุเหล่านั้นว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษูรูป
นั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดย
พยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘ลงกันได้โดยอรรถ
มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่านทั้งหลาย
อย่าถึงกับวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย’ ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไป
หาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ลงกันได้โดยอรรถ มีความ
ขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันและความขัดแย้งกันนี้
นั้นว่า ‘ลงกันโดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็น
เรื่องเล็กน้อย ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก พึงจำข้อที่
ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัย
ด้วยอาการอย่างนี้
[38] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้ลงกันได้โดยอรรถและลงกันได้โดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถและลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอ
ท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันนี้นั้นว่า ‘ลงกันโดยอรรถและลงกันโดยพยัญชนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :46 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 3. กินติสูตร

ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย' ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้โดยง่ายกว่า ควร
เข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า 'ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถและลงกัน
ได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันนี้นั้นว่า 'ลงกันโดยอรรถและ
ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย'
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก ครั้นจำได้แล้ว
พึงกล่าวธรรมวินัย ด้วยอาการอย่างนี้
[39] ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
ศึกษา1อยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงต้องอาบัติ ล่วงละเมิดบัญญัติ เธอทั้งหลายไม่
ควรกล่าวหาภิกษุรูปนั้นด้วยข้อกล่าวหาในเรื่องนั้น พึงใคร่ครวญบุคคลก่อนว่า
'ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่น
เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ดื้อรั้น สละคืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ด้วยอาการอย่างนี้' ถ้าเธอทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และ
ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละ
คืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่อง
ความขัดใจของบุคคลอื่นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลนั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า' ถ้าเธอทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความลำบากจักมีแก่เรา และ
ความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ดื้อรั้น
สละคืนได้ยาก และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็
เรื่องความลำบากของเรานี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้นั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า' ถ้าเธอทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา