เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 4. นันทโกวาทสูตร

เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่เนื้อที่คมตัดชำแหละเฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะ
ส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้นนั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนังผืนนี้เท่านั้น’ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคนั้น
เมื่อกล่าว ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือไม่
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญโน้น ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วน
เนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมตัดชำแหละเฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้น
นั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนัง
ผืนนี้เท่านั้น’ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น แม่โคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้นนั่นเอง
เจ้าข้า”
“น้องหญิงทั้งหลาย อาตมภาพทำอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อความชัดเจนขึ้น
เนื้อความในอุปมานั้นดังต่อไปนี้
คำว่า ส่วนเนื้อข้างใน นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน 6
คำว่า ส่วนหนังข้างนอก นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายนอก 6
คำว่า เนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็ก นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ
คำว่า มีดแล่เนื้อที่คม นั้น เป็นชื่อของอริยปัญญาที่ตัด ชำแหละ เฉือน
กิเลสในภายใน สังโยชน์ในภายใน และเครื่องผูกในภายใน

โพชฌงค์ 7 ประการ

[405] น้องหญิงทั้งหลาย เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :459 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 4. นันทโกวาทสูตร

โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก(ความสงัด) อาศัยวิราคะ
(ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ(ความดับ) น้อมไปใน
โวสสัคคะ(ความสละคืน)
2. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
3. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
4. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
5. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
6. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
7. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ1
เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
[406] ครั้งนั้น ท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้ว
จึงส่งไปด้วยคำว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว”
ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระนันทกะ แล้วลุก
ขึ้นจากอาสนะ กราบท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด สมควร
แก่เวลาแล้ว”
ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ
แล้วจากไป