เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 3. กินติสูตร

ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรม(ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรม
เครื่องตรัสรู้) เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านเหล่านี้มีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมี
ความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ‘1 เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุ
รูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอ
ท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถและ
เป็นความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’ ต่อจาก
นั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้
ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
มีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจง
ทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถและเป็นความขัดแย้ง
กันโดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด ครั้นจำได้แล้ว
พึงกล่าวธรรมวินัย ด้วยอาการอย่างนี้
[36] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้มีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจ
บรรดาภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุ
รูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดย
พยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันและความลงกันนี้นั้นว่า ‘เป็น
ความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ ท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกัน
เลย’ ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุ
รูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้โดยง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 3. กินติสูตร

‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย
จงทราบความขัดแย้งกันและความลงกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถ
ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด พึงจำข้อที่
ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัย
ด้วยอาการอย่างนี้
[37] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้ลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจ
บรรดาภิกษุเหล่านั้นว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษูรูป
นั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดย
พยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘ลงกันได้โดยอรรถ
มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่านทั้งหลาย
อย่าถึงกับวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย’ ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไป
หาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ลงกันได้โดยอรรถ มีความ
ขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันและความขัดแย้งกันนี้
นั้นว่า ‘ลงกันโดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็น
เรื่องเล็กน้อย ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก พึงจำข้อที่
ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัย
ด้วยอาการอย่างนี้
[38] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้ลงกันได้โดยอรรถและลงกันได้โดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถและลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอ
ท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันนี้นั้นว่า ‘ลงกันโดยอรรถและลงกันโดยพยัญชนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :46 }