เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 11. สัจจวิภังคสูตร

โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
เหล่านี้เรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
[374] ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ตัณหานี้เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เป็นเหตุ
เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา1
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความสละคืน
ความพ้น ความไม่ติดอยู่
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

อริยมรรคมีองค์ 8

[375] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ทุกข์) เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 11. สัจจวิภังคสูตร

คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้นั่นแล ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวาจา 4. สัมมากัมมันตะ
5. สัมมาอาชีวะ 6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ 8. สัมมาสมาธิ1

สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์(ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย(เหตุเกิดแห่งทุกข์)
ความรู้ในทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์)
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริ
ในการไม่เบียดเบียน
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการลักทรัพย์
เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ