เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 11. สัจจวิภังคสูตร

โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
เหล่านี้เรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
[374] ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ตัณหานี้เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เป็นเหตุ
เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา1
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความสละคืน
ความพ้น ความไม่ติดอยู่
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

อริยมรรคมีองค์ 8

[375] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ทุกข์) เป็นอย่างไร