เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

ผิดแล้วกระทำคืนตามธรรม เราก็ยกโทษให้เธอ ภิกษุ ก็การที่บุคคลเห็นความผิด
โดยเป็นความผิด แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความ
เจริญในอริยวินัย”
ท่านปุกกุสาติกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้
อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด”
“เธอมีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ”
“ไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ตถาคตทั้งหลายจะไม่ให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรไม่ครบอุปสมบท”
ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไปแสวงหา
บาตรและจีวร
ทันใดนั้นเอง แม่โคได้ขวิดท่านปุกกุสาติผู้กำลังเที่ยวแสวงหาบาตรและจีวร
เสียชีวิต ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “กุลบุตรชื่อ
ปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทด้วยพระโอวาทโดยย่อนั้น ตายเสียแล้ว เขา
มีคติเป็นอย่างไร มีสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้
บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว และเธอไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 สิ้นไป ปุกกุสาติกุลบุตร จึงเป็นโอปปาติกะ1 จะ
นิพพานในโลกนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ธาตุวิภังคสูตรที่ 10 จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 11. สัจจวิภังคสูตร

11. สัจจวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกสัจจะ

[371] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้ คือ
การบอก1 การแสดง2 การบัญญัติ3 การกำหนด4 การเปิดเผย5 การจำแนก6
การทำให้ง่าย7 ซึ่งอริยสัจ 4
อริยสัจ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ
2. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขสมุทยอริยสัจ