เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

ภิกษุ ความกำหนดหมายว่า “เรามี” ความกำหนดหมายว่า “เราไม่มี”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักมี” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มี” ความ
กำหนดหมายว่า “เราจักมีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มีรูป” ความ
กำหนดหมายว่า “เราจักมีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มีสัญญา”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ความกำหนดหมายเป็นดุจโรค ความกำหนดหมายเป็นดุจหัวฝี ความ
กำหนดหมายเป็นดุจลูกศร1 แต่เราเรียกภิกษุว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ เพราะก้าวล่วง
ความกำหนดหมายทั้งปวง เพราะว่ามุนีผู้สงบแล้ว ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่ต้องเกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้
อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ
จักทะเยอทะยานได้อย่างไร
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เมื่อความกำหนดหมาย ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คงอยู่ใน
อธิษฐานธรรม บัณฑิตจึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
ภิกษุ เธอจงจำธาตุวิภังค์ 6 โดยย่อนี้ของเราไว้”
[370] ครั้งนั้นแล ท่านปุกกุสาติรู้ว่า “ได้ยินว่า พระศาสดาของเราเสด็จมา
ถึงแล้ว ได้ยินว่า พระสุคตของเราเสด็จมาถึงแล้ว ได้ยินว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ของเราเสด็จมาถึงแล้ว” จึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า หมอบลงแทบ
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ผู้โง่ เขลา เบาปัญญา มีความผิดที่ข้าพระองค์
ได้สำคัญพระผู้มีพระภาคว่าควรเรียกด้วยวาทะว่าผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาค จง
ให้อภัยโทษแก่ข้าพระองค์ เพื่อสำรวมต่อไป”2
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถอะ เธอผู้โง่ เขลา เบาปัญญา มีความผิดที่
ได้สำคัญเราว่าควรร้องเรียกด้วยวาทะว่าผู้มีอายุ แต่เธอเห็นความผิดโดยเป็นความ