เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนา
นั้น เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า
‘หลังจากตายไป เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
[365] ภิกษุ เปรียบเหมือนตะเกียงน้ำมันติดอยู่ได้ เพราะอาศัยน้ำมันและไส้
ตะเกียงน้ำมันนั้นย่อมหมดเชื้อดับไป เพราะหมดน้ำมันและไส้ และเพราะไม่เติมน้ำ
มันและไส้ใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า
‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า ‘หลังจากตายไป เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’1 เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้2 ชื่อว่าเป็น
ผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญาอันยอดเยี่ยมนี้ เพราะว่าปัญญาอันประเสริฐ
ยอดเยี่ยมนี้ คือความรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง3
[366] ความหลุดพ้นของภิกษุนั้น เป็นอันตั้งอยู่ ไม่กำเริบในสัจจะ เพราะ
ว่าสิ่งใดมีความเลอะเลือนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นเป็นของเท็จ สิ่งใดไม่มีความ
เลอะเลือนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นเป็นของจริงคือนิพพาน เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้
เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะอัน
ยอดเยี่ยมนี้ เพราะสัจจะนี้เป็นบรมอริยสัจคือนิพพานอันไม่มีความเลอะเลือนเป็น
ธรรมดา
[367] อนึ่ง อุปธิทั้งหลาย4ของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแล เป็น
อันเธอสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เธอละอุปธิเหล่านั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐาน
ธรรมคือจาคะอันยอดเยี่ยมนี้ เพราะว่าจาคะอันประเสริฐ ยอดเยี่ยมนี้ คือความ
สละคืนอุปธิทั้งปวง
[368] อนึ่ง อภิชฌา คือ ความพอใจ ความกำหนัดยินดีของภิกษุผู้ไม่รู้
แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่ เธอละอภิชฌา คือ ความพอใจ ความกำหนัด
ยินดีได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ความอาฆาต คือ ความพยาบาท ความคิดประทุษร้ายของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งใน
กาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่ เธอละความอาฆาต คือ ความพยาบาท ความคิด
ประทุษร้ายนั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อวิชชา คือ ความหลง งมงายของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่
เธอละอภิชฌา คือความหลง งมงายนั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรม คือ
อุปสมะอันยอดเยี่ยมนี้ ความสงบระงับราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นความสงบระงับ
อันประเสริฐยอดเยี่ยม
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูน
จาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[369] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘เมื่อความกำหนดหมาย1ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คง
อยู่ในอธิษฐานธรรม บัณฑิตจึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น