เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม 4 ประการ’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

ธาตุ 6 ประการ

[348] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ
พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว
ไว้เช่นนั้น
บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ธาตุ 6 ประการนี้ ได้แก่
1. ปฐวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. เตโชธาตุ 4. วาโยธาตุ
5. อากาสธาตุ 6. วิญญาณธาตุ
[349] ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร
คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี
ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูป1ภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็น
ของหยาบ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ
อุปาทินนกรูปภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ
นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

ปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง บัณฑิตควร
เห็นปฐวีธาตุนั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด
จากปฐวีธาตุ
[350] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อาโปธาตุภายในก็มี อาโปธาตุภายนอกก็มี
อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ
เอิบอาบ ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ น้ำตา มันข้น เปลวมัน น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็น
ของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ
นี้เรียกว่าอาโปธาตุภายใน
อาโปธาตุภายในและอาโปธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอาโปธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากอาโปธาตุ
[351] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร
คือ เตโชธาตุภายในก็มี เตโชธาตุภายนอกก็มี
เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :406 }