เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

1. ผัสสายตนะคือจักขุ 2. ผัสสายตนะคือโสตะ
3. ผัสสายตนะคือฆานะ 4. ผัสสายตนะคือชิวหา
5. ผัสสายตนะคือกาย 6. ผัสสายตนะคือมโน
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีผัสสายตนะ 6 ประการ’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[346] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีมโนปวิจาร 18’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อม
นึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ความนึกหน่วงโสมนัส 6 ความนึกหน่วงโทมนัส 6 ความนึกหน่วงอุเบกขา 6
ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีมโนปวิจาร 18’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[347] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม 4 ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ
1. อธิษฐานธรรมคือปัญญา 2. อธิษฐานธรรมคือสัจจะ
3. อธิษฐานธรรมคือจาคะ 4. อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :404 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม 4 ประการ’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

ธาตุ 6 ประการ

[348] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ
พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว
ไว้เช่นนั้น
บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ธาตุ 6 ประการนี้ ได้แก่
1. ปฐวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. เตโชธาตุ 4. วาโยธาตุ
5. อากาสธาตุ 6. วิญญาณธาตุ
[349] ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร
คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี
ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูป1ภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็น
ของหยาบ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ
อุปาทินนกรูปภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ
นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน