เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

[343] “ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ 61 มีผัสสายตนะ(แดนเกิดแห่งผัสสะ) 6 มี
มโนปวิจาร(ความนึกหน่วงทางใจ) 18 มีอธิษฐานธรรม(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) 4
เมื่อความกำหนดหมาย ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คงอยู่ในอธิษฐานธรรม บัณฑิต
จึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา2 พึงตามรักษา
สัจจะ3 พึงเพิ่มพูนจาคะ4 พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ นี้เป็นอุทเทสแห่งธาตุวิภังค์
6 ประการ
[344] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ 6 ประการ’ เพราะ
อาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุ ธาตุ 6 ประการ นี้ คือ

1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) 2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
3. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) 4. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
5. อากาสธาตุ (ธาตุคืออากาศ) 6. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ 6 ประการ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[345] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีผัสสายตนะ 6 ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

1. ผัสสายตนะคือจักขุ 2. ผัสสายตนะคือโสตะ
3. ผัสสายตนะคือฆานะ 4. ผัสสายตนะคือชิวหา
5. ผัสสายตนะคือกาย 6. ผัสสายตนะคือมโน
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีผัสสายตนะ 6 ประการ’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[346] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีมโนปวิจาร 18’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อม
นึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ความนึกหน่วงโสมนัส 6 ความนึกหน่วงโทมนัส 6 ความนึกหน่วงอุเบกขา 6
ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีมโนปวิจาร 18’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[347] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม 4 ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ
1. อธิษฐานธรรมคือปัญญา 2. อธิษฐานธรรมคือสัจจะ
3. อธิษฐานธรรมคือจาคะ 4. อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :404 }