เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ
ทางที่ดี เราควรจะถามดู” จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติว่า “ภิกษุ ท่านบวชอุทิศใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร”
ท่านปุกกุสาติตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จ
ออกจากศากยราชตระกูลทรงผนวชแล้ว ก็พระสมณโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น มี
พระกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ข้าพเจ้าบวช
อุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดาของ
ข้าพเจ้า และข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
“ภิกษุ ก็บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับ
อยู่ ณ ที่ไหน”
“ท่านผู้มีอายุ บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ในอุตตรชนบท”
“ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักหรือ”
“ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย และเห็น
แล้วก็ไม่รู้จัก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “กุลบุตรนี้บวชอุทิศเรา ทางที่ดี เรา
พึงแสดงธรรมแก่เขา” ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านปุกกุสาติมา
ตรัสว่า “ภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่เธอ เธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านปุกกุสาติทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :402 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

[343] “ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ 61 มีผัสสายตนะ(แดนเกิดแห่งผัสสะ) 6 มี
มโนปวิจาร(ความนึกหน่วงทางใจ) 18 มีอธิษฐานธรรม(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) 4
เมื่อความกำหนดหมาย ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คงอยู่ในอธิษฐานธรรม บัณฑิต
จึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา2 พึงตามรักษา
สัจจะ3 พึงเพิ่มพูนจาคะ4 พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ นี้เป็นอุทเทสแห่งธาตุวิภังค์
6 ประการ
[344] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ 6 ประการ’ เพราะ
อาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุ ธาตุ 6 ประการ นี้ คือ

1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) 2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
3. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) 4. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
5. อากาสธาตุ (ธาตุคืออากาศ) 6. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ 6 ประการ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[345] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีผัสสายตนะ 6 ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ