เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดอย่างไม่ถือมั่นโดย
วิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้น ๆ จะรู้จักภาชนะนั้นได้ว่า ‘ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุ
เหล่านี้พูดหมายถึงภาชนะนี้’
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็น
อย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ’ นั่น
เพราะอาศัยคำนี้ เราจึงกล่าวไว้
[333] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
โสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของ
ปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มี
ความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี
ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมไม่มีกิเลส
[334] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็น
ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อัน
เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :398 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

[335] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือมัชฌิมาปฏิปทา ที่
ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[336] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการยกย่อง การตำหนิ
และการไม่แสดงธรรมนี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ การแสดงธรรมเท่านั้นนี้
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[337] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือสุขอันเกิดจากกาม สุขอัน
เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ สุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะนี้ มีทุกข์ มีความ
เบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือเนกขัมมสุข สุขเกิดจากความสงัด สุขเกิดจากความ
สงบ สุขเกิดจากการตรัสรู้นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น
ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[338] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือความลับที่ไม่เป็นความจริง
ไม่เป็นความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความ
คับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็น
ธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือความลับที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :399 }