เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[330] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุรีบร้อนพูด แม้กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง
เสียงก็พร่า คอก็แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุรีบร้อนพูดก็ไม่สละสลวย ฟังไม่เข้าใจ
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุไม่รีบร้อนพูด กายก็ไม่ลำบาก จิตก็
ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่พร่า คอก็ไม่แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุผู้ไม่รีบร้อนพูด ก็สละสลวย
ฟังเข้าใจ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[331] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูด
สามัญ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร
คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’
บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า
‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง
ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดด้วยความยึดมั่น
ถือมั่นโดยวิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้น ๆ จะรู้จักภาชนะนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างนี้
[332] การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร
คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’
บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า
‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :397 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดอย่างไม่ถือมั่นโดย
วิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้น ๆ จะรู้จักภาชนะนั้นได้ว่า ‘ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุ
เหล่านี้พูดหมายถึงภาชนะนี้’
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็น
อย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ’ นั่น
เพราะอาศัยคำนี้ เราจึงกล่าวไว้
[333] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
โสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของ
ปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มี
ความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี
ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมไม่มีกิเลส
[334] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็น
ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อัน
เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :398 }