เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ 5 ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า สุขอันเกิดจาก
กาม เป็นสุขที่เกิดแต่เมถุนธรรม1 เป็นสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ
เรากล่าวว่า ‘ภิกษุไม่พึงเสพ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้มาก พึงกลัวสุขชนิดนี้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ... บรรลุ
ตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... สุขนี้เราเรียกว่า เนกขัมมสุข เป็นสุขอันเกิด
จากความสงัด เป็นสุขเกิดจากความสงบ เป็นสุขเกิดจากการตรัสรู้ เรากล่าวว่า
‘ภิกษุพึงเสพ พึงเจริญ พึงทำให้มาก ไม่พึงกลัวสุขชนิดนี้’
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[329] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกิน
ต่อหน้า’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้ความลับอันใด ที่ไม่เป็นความจริง ไม่เป็น
ความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวความลับนั้นเป็นอันขาด แม้รู้ว่า
ความลับอันใดที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึง
สำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวความลับนั้น และพึงรู้ความลับอันใดเป็นความจริง เป็น
ความแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวความลับนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้คำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่ไม่เป็นคำจริง
ไม่เป็นคำแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็น
อันขาด แม้รู้ว่าคำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น และพึงรู้คำ
ล่วงเกินต่อหน้าอันใดที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น
ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[330] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุรีบร้อนพูด แม้กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง
เสียงก็พร่า คอก็แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุรีบร้อนพูดก็ไม่สละสลวย ฟังไม่เข้าใจ
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุไม่รีบร้อนพูด กายก็ไม่ลำบาก จิตก็
ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่พร่า คอก็ไม่แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุผู้ไม่รีบร้อนพูด ก็สละสลวย
ฟังเข้าใจ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[331] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูด
สามัญ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร
คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’
บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า
‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง
ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดด้วยความยึดมั่น
ถือมั่นโดยวิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้น ๆ จะรู้จักภาชนะนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างนี้
[332] การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร
คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’
บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า
‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :397 }