เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ แม้ภพ
ก็เป็นอันละไม่ได้‘ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ก็เมื่อบุคคลละภวสังโยชน์ได้แล้ว
แม้ภพก็เป็นอันละได้แล้ว’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึง
ยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

กามคุณ 5 ประการ

[328] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึง
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการ นี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :395 }