เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มี
ความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิ
ชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคล
ผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มี
ความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่า
ยกย่องชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึง
มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อ
ว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้
ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละภวสังโยชน์1ไม่ได้ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

[327] การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มี
ความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อ
กล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ นี้แล มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มี
ความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’
เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ นี้แล ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก’ ชื่อว่าแสดง
ธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’
เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ นี้แล มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้
ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ นี้แล ไม่มีทุกข์
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก’
ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :394 }