เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

ธรรมเป็นเหตุไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี
ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

อริยมรรคมีองค์ 8

[325] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด 2 อย่างนั้น
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด 2 อย่างนั้น
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน‘1 นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[326] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว
ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มี
ความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิ
ชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคล
ผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มี
ความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่า
ยกย่องชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึง
มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อ
ว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้
ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละภวสังโยชน์1ไม่ได้ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างนี้แล