เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

โดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารได้
ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถาม
เนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ’
ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้ว
สอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหากัจจานะได้ชี้แจง
เนื้อความแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแล้วโดยอาการเหล่านี้ โดยบทเหล่านี้ โดย
พยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะ เป็นบัณฑิต มี
ปัญญามาก แม้ถ้าเธอทั้งหลายพึงสอบถามเนื้อความนั้นกับเรา ถึงเราก็พึงตอบ
อย่างเดียวกับที่มหากัจจานะตอบแล้วเหมือนกัน ก็เนื้อความแห่งอุทเทสนั้นเป็นอย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อุทเทสวิภังคสูตรที่ 8 จบ

9. อรณวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกธรรมที่ไม่มีกิเลส

[323] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :390 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 9. อรณวิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม เป็น
ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ
ไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค(การประกอบความลำบากเดือดร้อน
แก่ตน)อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด 2 อย่างนั้นที่ตถาคตได้
ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน1 พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ
ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น พึงรู้การตัดสินความสุข
ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน ไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึง
กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า เมื่อไม่รีบร้อน จึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด ไม่พึงยึด
ภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ2 นี้เป็นอุทเทสแห่งอรณวิภังค์
[324] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม
อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติผิด
ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มีความอันเกิดจาก
กาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก
ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ นี้มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นข้อปฏิบัติผิด