เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 8. อุทเทสวิภังคสูตร

[319] จิตที่เรียกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
ตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย
สังโยชน์คือความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไป
ตามอุเบกขา พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจาก
อุเบกขาตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยสังโยชน์คือความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามอทุกขมสุข พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในอทุกขมสุขตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีใน
อทุกขมสุขผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในอทุกขมสุขว่า ‘ไม่
ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
จิตที่เรียกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’ เป็นอย่างนี้
[320] ความสะดุ้งเพราะตามยึดมั่น1 เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชน2ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดใน