เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 8. อุทเทสวิภังคสูตร

ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว มีวิญญาณซ่านไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ตรึงไว้ ที่ถูกความ
ยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในนิมิต
คือธรรมารมณ์ว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’
วิญญาณที่เรียกว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’ เป็นอย่างนี้
[317] วิญญาณที่เรียกว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว มีวิญญาณไม่ซ่านไปตาม
นิมิตคือรูป พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปตรึงไว้
ที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปผูกมัดไว้ ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีใน
นิมิตคือรูปว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว มีวิญญาณไม่ซ่านไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้
มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ตรึงไว้ ที่ไม่
ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความ
ยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’
วิญญาณที่เรียกว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’ เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :384 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 8. อุทเทสวิภังคสูตร

[318] จิตที่เรียกว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณ
ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวกผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกว่า
‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิตรึงไว้
ที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือ
ความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ ภิกษุนั้นมีวิญญาณซ่านไปตามอุเบกขา พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
เรียกจิตที่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในสุขอัน
เกิดจากอุเบกขาผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในสุขอันเกิดจาก
อุเบกขาว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุนั้นมี
วิญญาณซ่านไปในอทุกขมสุข พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความยินดีใน
อทุกขมสุขตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในอทุกขมสุขผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์
คือความยินดีในอทุกขมสุขว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
จิตที่เรียกว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’ เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :385 }