เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 2. ปัญจัตตยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตนอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง สมณพราหมณ์
เหล่านั้นย่อมยึดถือเพียงส่วนแห่งความรู้เท่านั้นในเรื่องนั้น แม้ส่วนแห่งความรู้นั้น
บัณฑิตกล่าวว่าเป็นอุปาทาน1ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้
[29] ภิกษุทั้งหลาย ในวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่ง
มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
... ‘อัตตาและโลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่าง
อื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 2. ปัญจัตตยสูตร

... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาเล็กน้อย นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาหาประมาณมิได้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่
จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสุขอย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีทุกข์อย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทุกข์ก็มิใช่ มีสุขก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปไม่ได้ที่
ญาณเฉพาะตนอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งเป็นธรรมอื่นจากความเชื่อ อื่นจากความชอบใจ
อื่นจากการฟังตามกันมา อื่นจากการตรึกตามอาการ อื่นจากการเข้าได้กับทฤษฎี
ที่พินิจไว้ จักมีแก่สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตนอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมยึดถือเพียงส่วนแห่งความรู้เท่านั้นในเรื่องนั้น แม้ส่วนแห่งความรู้นั้นบัณฑิต
กล่าวว่าเป็นอุปาทานของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

วาทะของพระพุทธองค์

[30] ภิกษุทั้งหลาย เพราะกามสังโยชน์1ตั้งอยู่ไม่ได้โดยประการทั้งปวง
เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตาม
ขันธ์ส่วนอนาคตได้ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้จึงเข้าถึงปีติอันเกิดจากวิเวกอยู่