เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 7. สฬายตนวิภังคสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาในโลกนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่เธอทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดา
นั้นย่อมไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของ
ศาสดา ในข้อนั้น ตถาคตไม่มีใจยินดี ไม่ชื่นชม และไม่ถูก(โทสะ) รั่วรด มี
สติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ 1 ที่พระอริยเสพ ซึ่งเมื่อ
เสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ
อีกประการหนึ่ง ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัย
ความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เธอ
ทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดานั้น บางพวก
ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
บางพวกฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของ
ศาสดา ในข้อนั้น ตถาคตก็ไม่มีใจยินดี ไม่ชื่นชม ไม่มีใจยินดีก็มิใช่ ไม่ชื่นชม
ก็มิใช่ เว้นความมีใจยินดีและความไม่มีใจยินดีทั้ง 2 อย่างนั้นแล้ว จึงเป็น
ผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ 2 ที่พระอริยเสพ ซึ่ง
เมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ
อีกประการหนึ่ง ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัย
ความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เธอ
ทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดานั้น ย่อมฟัง
ด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ในข้อนั้น
ตถาคตมีใจยินดี ชื่นชม และไม่ถูก(ราคะ) รั่วรด มีสติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ 3 ที่พระอริยเสพ ซึ่งเมื่อเสพ
ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :378 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 7. สฬายตนวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พระอริยะเสพธรรม คือ สติปัฏฐาน 3 ซึ่งเมื่อเสพ
ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[312] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พระอริยศาสดานั้นอันเราเรียกว่า เป็นสารถีผู้
สามารถฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันควาญช้างบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียว
เท่านั้น คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
ม้าที่ควรฝึก อันคนฝึกม้าบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศ
ตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
โคที่ควรฝึก อันคนฝึกโคบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น คือทิศ
ตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไป
ได้ตลอดทิศทั้ง 8 คือ
ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้ นี้เป็นทิศที่ 1
ผู้มีสัญญาในอรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอกได้ นี้เป็นทิศที่ 2
เป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้เป็นทิศที่ 3
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ด้วยใส่ใจว่า ‘อากาศหา
ที่สุดมิได้’ นี้เป็นทิศที่ 4
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานอยู่ด้วยใส่ใจว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็นทิศที่ 5
เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานอยู่ด้วยใส่ใจว่า ‘ไม่มีอะไรสักหน่อยหนึ่ง’ นี้เป็นทิศที่ 6

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :379 }