เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 2. ปัญจัตตยสูตร

8. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
ที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
9. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
สัญญาอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
10. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
สัญญาต่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
11. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
สัญญาเล็กน้อย นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
12. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
สัญญาหาประมาณมิได้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
13. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีสุข
อย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
14. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
ทุกข์อย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
15. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทั้ง
สุขและทุกข์ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
16. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
ทุกข์ก็มิใช่ มีสุขก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
[28] ภิกษุทั้งหลาย ในวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ซึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ญาณเฉพาะตน1อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งเป็นธรรมอื่นจาก
ความเชื่อ อื่นจากความชอบใจ อื่นจากการฟังตามกันมา อื่นจากการตรึกตาม
อาการ อื่นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้ จักมีแก่สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 2. ปัญจัตตยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตนอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง สมณพราหมณ์
เหล่านั้นย่อมยึดถือเพียงส่วนแห่งความรู้เท่านั้นในเรื่องนั้น แม้ส่วนแห่งความรู้นั้น
บัณฑิตกล่าวว่าเป็นอุปาทาน1ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้
[29] ภิกษุทั้งหลาย ในวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่ง
มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
... ‘อัตตาและโลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่าง
อื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ