เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 7. สฬายตนวิภังคสูตร

4. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
5. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
6. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)1
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายใน 6’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้ (1)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก 6’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
1. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป)
2. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง)
3. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น)
4. รสายตนะ (อายตนะคือรส)
5. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือสัมผัส)
6. ธัมมายตนะ (อายตนะคือธรรมารมณ์)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก 6’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้ (2)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ 6’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
1. จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา)
2. โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู)
3. ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก)
4. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น)
5. กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย)
6. มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ 6’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้ (3)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 7. สฬายตนวิภังคสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ 6’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ

1. จักขุสัมผัส (สัมผัสทางตา)
2. โสตสัมผัส (สัมผัสทางหู)
3. ฆานสัมผัส (สัมผัสทางจมูก)
4. ชิวหาสัมผัส (สัมผัสทางลิ้น)
5. กายสัมผัส (สัมผัสทางกาย)
6. มโนสัมผัส (สัมผัสทางใจ)

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ 6’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้ (4)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบมโนปวิจาร 18’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อม
นึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาไว้
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขาไว้
ความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส 6 ฝ่ายโทมนัส 6 ฝ่ายอุเบกขา 6 ย่อมมีด้วย
ประการฉะนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบมโนปวิจาร 18’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้ (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :370 }