เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 5. จูฬกัมมวิภังคสูตร

[297] มาณพ รวมความว่า ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้นย่อมนำ
เข้าไปสู่ความมีอายุสั้น
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืนย่อมนำเข้าไปสู่ความมีอายุยืน
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคมากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโรคมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคน้อยย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโรคน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณทรามย่อมนำเข้าไปสู่ความมีผิวพรรณทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณผ่องใสย่อมนำเข้าไปสู่ความมีผิวพรรณผ่องใส
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอำนาจน้อยย่อมนำเข้าไปสู่ความมีอำนาจน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอำนาจมากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีอำนาจมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะน้อยย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโภคะน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะมากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโภคะมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในตระกูลต่ำย่อมนำเข้าไปสู่ความเกิดในตระกูลต่ำ
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในตระกูลสูงย่อมนำเข้าไปสู่ความเกิดในตระกูลสูง
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาทรามย่อมนำเข้าไปสู่ความมีปัญญาทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีปัญญามาก
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มี
กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลว
และดีต่างกัน ด้วยประการฉะนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพโตเทยยบุตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้า
แต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :356 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 6. มหากัมมวิภังคสูตร

ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม และพระ
สงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

จูฬกัมมวิภังคสูตรที่ 5 จบ

6. มหากัมมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่

[298] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสมิทธิอยู่ในกระท่อมป่า ครั้งนั้น
ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรเที่ยวเดินเล่นอยู่ เข้าไปหาท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่ แล้วได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิว่า
“ท่านพระสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระสมณโคดมว่า
‘กายกรรมไม่จริง วจีกรรมไม่จริง มโนกรรมเท่านั้นจริง’ และว่า ‘สมาบัติที่บุคคล
เข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้นก็มีอยู่’
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “ท่านโปตลิบุตร ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้
ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมไม่จริง วจีกรรมไม่จริง มโนกรรมเท่านั้นจริง’ และว่า
‘สมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้นก็มีอยู่’
“ท่านพระสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว”
“ท่านผู้มีอายุ อาตมภาพบวชได้ไม่นาน เพียง 3 พรรษา”
“บัดนี้ ในเมื่อภิกษุใหม่ยังคิดปกป้องพระศาสดาถึงเพียงนี้ เราทั้งหลายจะ
พูดอะไรกับภิกษุผู้เป็นพระเถระได้เล่า ท่านพระสมิทธิ บุคคลทำกรรมที่ประกอบ
ด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจแล้ว จะเสวยผลอะไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :357 }