เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 5. จูฬกัมมวิภังคสูตร

พยาบาท ปองร้าย แสดงความโกรธความปองร้ายและโทษเล็กน้อยให้ปรากฏ
เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีผิวพรรณทราม
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่ากล่าว
แม้เล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธ พยาบาท ปองร้าย แสดงความโกรธความปองร้ายและ
โทษเล็กน้อยให้ปรากฏ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณทราม (3)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้
ไม่โกรธ ไม่มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่ากล่าวแม้มากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ
ไม่พยาบาท ไม่ปองร้าย ไม่แสดงความโกรธ ความปองร้ายและโทษเล็กน้อยให้
ปรากฏ เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขา
จึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่โกรธ ไม่มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่า
กล่าวแม้มากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่ปองร้าย ไม่แสดงความโกรธ
ความปองร้ายและโทษเล็กน้อยให้ปรากฏ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ผิวพรรณผ่องใส (3)
[293] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้มีใจริษยา ย่อมริษยา ประทุษร้าย ผูกความริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ
ความนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของบุคคลอื่น เพราะกรรมนั้นที่เขาให้
บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิด
เป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีอำนาจน้อย
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มีใจริษยา ย่อมริษยา ประทุษร้าย ผูกความ
ริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของ
บุคคลอื่น นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจน้อย (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :352 }