เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค]
3. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีฆานะอย่างนี้ มี
กลิ่นอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีชิวหาอย่างนี้ มี
รสอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีกายอย่างนี้ มี
โผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีมโนอย่างนี้ มี
ธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะความไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงไม่ยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่หวังสิ่งที่ยัง
ไม่มาถึง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
[284] บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปทั้ง 2 อย่างที่เป็น
ปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีจักขุและรูปนั้น
บุคคลเมื่อยินดีจักขุและรูป จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียง ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรส ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง 2 อย่างที่
เป็นปัจจุบันนั้นเพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมที่
เป็นปัจจุบัน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :339 }